นักแบดมินตันได้รับการบาดเจ็บที่ไหนเยอะสุด?
จากการวิจัยจากนักกีฬาแบดมินตันมือสมัครเล่น 150 คนโดย Marchena-Rodriguez, Anaa; Gijon-Nogueron, Gabriel PhDb; Cabello-Manrique, Davidc,∗; Ortega-Avila, Ana Belen PhDa, May, 2020
แม้กีฬาแบดมินตันจะเป็นกีฬาประเภทบุคคล ไม่ต้องเจอแรงปะทะกับใคร ทว่าทั้งต้องกระโดด การพุ่งตัว การเปลี่ยนท่าทางของร่างกายไปจนถึงการเคลื่อนที่ของแขน ขา และอวัยวะส่วนอื่นอย่างรวดเร็ว นี่คือสิ่งที่บ่งบอกได้ในระดับหนึ่งว่าโอกาสเกิดอาการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันมีได้เสมอ ยิ่งถ้านักกีฬาคนหนึ่งบาดเจ็บถี่เกินไปอาจส่งผลกระทบต่อบริเวณแผ่นหลัง หัวไหล่ ช่วงขาด้านล่าง และหัวเข่าได้เช่นกัน
อวัยวะช่วงล่างเป็นจุดต้องรับแรงกดและแรงกระแทกบ่อยครั้งจากการเคลื่อนตัวเพื่อเล่นแบดมินตัน อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ ขณะที่อวัยวะช่วงบนส่วนข้อต่อที่ต้องทำงานหนักสุดคือหัวไหล่ จากการเคลื่อนไหวที่ต้องบิดไปมาภายในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงการใช้แรงเพื่อตีลูก สิ่งเหล่านี้เองอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณไหล่ ข้อศอก และข้อมือได้
- จากการศึกษาผู้เล่นแบดมินตันมือสมัครเล่นทั้งหมด 150 คน มีจำนวน 22.44% บาดเจ็บบริเวณเข่า 18.3% บาดเจ็บช่วงขา ขณะที่ 11.8% บาดเจ็บแขนช่วงบนและหัวไหล่
- อาการบาดเจ็บขั้นรุนแรง (ใช้เวลามากกว่า > 28 วันในการพักฟื้น) บริเวณหัวเข่ามีเปอร์เซ็นสูงสุด 35% ของการบาดเจ็บรุนแรงทั้งหมด
- ขณะเดียวกันผู้เล่นอายุมาก นักกีฬาหญิง และคนที่ซ้อมหนักก็มีแนวโน้มได้รับบาดเจ็บมากกว่าปกติ ในทางตรงข้ามหากมีประสบการณ์เล่นเยอะมักช่วยลดปัญหานี้ได้ในระดับหนึ่ง
ปัจจุบันการเล่นแบดมินตันต้องใช้ทั้งความรวดเร็ว ความแข็งแรงของร่างกาย เน้นแท็กติกกันมากขึ้น อุปกรณ์มีคุณภาพ และมีความเป็นมืออาชีพมากกว่าสมัยก่อนเยอะ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝึกซ้อมให้เหมาะกับกีฬาประเภทนี้ ไม่ใช่แค่เน้นในเรื่องสรีรวิทยาหรือสมรรถภาพทางกาย แต่ต้องรู้วิธีในการป้องกันตนเองอย่างถูกต้องด้วย
0 ความคิดเห็น
ไม่มีความคิดเห็นสำหรับบทความนี้ เป็นคนแรกที่ฝากข้อความ!